วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิชาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของนางสาวนิศารัตน์ บามขุนทด





                              มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
        
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดาและเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร
โดยมีพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดอยู่ 6 ตำหนัก เนื่องจากมีผู้นำบุตรีและหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้างโรงเรียนนิภาคารสอนตามหลักสูตรการศึกษาสมัยนั้น รวมทั้งอบรมมารยาทและการฝีมือด้วยดำเนินกิจการไปโดยปริยาย
พ.ศ. 2480 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีลงมติให้ใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา ของรัฐกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน สวนสุนันทาพัฒนาด้านการศึกษาต่อเนื่องมีสาระสำคัญ สรุปได้โดยลำดับดังนี้

พ.ศ. 2480
เริ่มจัดการศึกษา 2 แผน คือ แผนกสามัญและแผนกวิสามัญ แผนกสามัญ เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 7-8 นั้น รับโอนจากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนสตรีโชตเวช แผนกเลขานุการสำหรับนักเรียนประถมที่ 1 เท่านั้นที่จัดเป็นสหศึกษา ส่วนแผนกวิสามัญรับโอนนักเรียน ฝึกหัดครูประถมหญิง จากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 มาศึกษาหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)1 ปี มีทั้งประเภทนักเรียนนอกบำรุง คือ ผู้เรียนโดยทุนส่วนตัวและนักเรียนในบำรุง คือผู้สอบได้ทุนกระทรวงธรรมการ

พ.ศ. 2481
งดสอนชั้นมัธยมปีที่ 8 และแบ่งการเรียน การสอนเป็น 3 แผนกคือ แผนกประถมศึกษา แผนกมัธยมศึกษาและแผนกฝึกหัดครู พ.ศ. 2482 แผนกมัธยมศึกษาเหลือเพียงชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ส่วนแผนกฝึกหัดครูเปิดสอนหลักสูตร ประโยคครูประถม (ป.ป.) 1 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 ให้มาเรียนแบบอยู่ประจำทั้งประเภทในบำรุงและนอกบำรุง

พ.ศ. 2483
แผนกประถมศึกษาเปิดสอนชั้นเตรียมประถมแต่ปีต่อมาก็ยุบไปเปิดสอนที่โรงเรียน ละอออุทิศ

พ.ศ. 2486
ขยายการรับนักเรียนในบำรุงจากต่างจังหวัดทุกจังหวัด โดยจังหวัดเป็นผู้สอนคัดเลือก นักเรียนส่งเข้ามาเรียนอยู่ประจำ จังหวัดละ 2 คน

พ.ศ. 2490
รับเฉพาะนักเรียนในบำรุง มีทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

พ.ศ. 2491
รับโอนนักเรียนประถมจากโรงเรียนละอออุทิศมาไว้

พ.ศ. 2495
เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม แผนกการงานสันทัด เช่น งานประดิษฐ์ งามไม้ งานพิมพ์ งานไฟฟ้า งานเสื้อผ้า ฯลฯ

พ.ศ. 2496
เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) 2 ปี แผนกการงานสันทัดรับจากผู้จบ ป.ป. การงานสันทัด

พ.ศ. 2498
เลิกหลักสูตร ป.ป. และ ป.ม. การงานสันทัดและเปิดสอนฝึกหัดครู หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) 2 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 เริ่มจากคิดคะแนนแบบหน่วยกิตแทนแบบร้อยละ

พ.ศ. 2500
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.กศ. รอบบ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วไม่มีที่เรียน รับนักเรียนฝึกหัดครูชายเป็นครั้งแรกและเริ่มมีนักเรียน ทั้งประเภทอยู่ประจำและประเภทเดินเรียน เนื่องจากไม่มีหอนอนเพียงพอ

พ.ศ. 2501
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง ) รับจากผู้สำเร็จการศึกษา ป.กศ. และกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ยกฐานะโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา จัดการเรียนการสอน เป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายอุดมศึกษา ฝ่ายมัธยมศึกษาและฝ่ายประถมสาธิต

พ.ศ. 2510
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.ป. แบบเร่งรัดรับนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่ามาเรียน 1 ปี


พ.ศ. 2511
เปิดสอนภาคนอกเวลาหลักสูตร ป.กศ. ด้วยในปีต่อมา

พ.ศ. 2517
เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัย วิชาการศึกษา

พ.ศ. 2518
กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้วิทยาลัยครู สวนสุนันทาเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู แบ่งสายงานการปฏิบัติราชการออกเป็น - สำนักงานอธิการ - คณะวิชา - ภาควิชาและยังคงมีโรงเรียนประถมสาธิต และมัธยมสาธิตเช่นเดิม

พ.ศ. 2519
สอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของกรมการฝึกหัดครู

พ.ศ. 2520
งดรับนักศึกษาภาคนอกเวลา

พ.ศ. 2521
เปิดรับนักเรียนระดับปริญญาตรี 2 ปี ตาม โครงการอบรมครูและบุคลากร การศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.)

พ.ศ. 2523
เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับจากนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2523 ) หรือมัธยมปีที่ 6

พ.ศ. 2525
รับนักศึกษา ป.กศ. ชั้นสูง ภาคต่อเนื่องและภาคสมทบ (แทนภาคนอกเวลาเดิม)

พ.ศ. 2526
เปิดสอนหลักสูตรเทคนิคอาชีพระดับ ป.กศ. ชั้นสูง 2 ปี รับจากผู้สำเร็จ มัธยมปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

พ.ศ. 2527
มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนได้ 3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรีหลังอนุปริญญา วิทยาลัยครูสวนสุนันทายังเปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ 8 วิชาเอกและอนุปริญญาศิลปศาสตร์ 4 วิชาเอก

พ.ศ. 2528
เลิกโครงการ อ.ค.ป. เปลี่ยนเป็นโครงการอบรมการศึกษาบุคลากรประจำ (กศ.บป.) สอนทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาการอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2529
เปิดสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรีหลัง อนุปริญญา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์เพิ่มเติมจาก สาขาวิชาการศึกษาที่มีอยู่เดิม

พ.ศ. 2530
สภาการฝึกหัดครูได้พัฒนาหลักสูตรทุกระดับและทุกสาขาวิชา วิทยาลัยจึงเปิดสอนหลักสูตรใหม่นี้

พ.ศ. 2535
สภาการฝึกหัดครูอนุมัติโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาลัยจึงเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมดังกล่าว

พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน
ถึงปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏ โดยได้ตราเป็น พระราชบัญญัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 19 มกราคม 2538 ในปัจจุบันสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา เปิดสอนภาคปกติและภาค กศ.บป. ในระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาศึกษาศาสตร์ เปิดสอน 16 โปรแกรมวิชา 2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดสอน 11 โปรแกรมวิชา 3. สาขาศิลปศาสตร์ เปิดสอน 14 โปรแกรมวิชา ทั้งยังมีการบริการวิชาการแก่บุคคลทั่วไปหลายโดครงการ เช่น โครงการ อบรมภาษาอังกฤษ อบรมภาษาญี่ปุ่นอบรมการถ่ายภาพอบรมคอมพิวเตอร์ อบรมนาฎศิลป์ ซัมเมอร์แคมป์ อบรมการพิมพ์การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  

คณะและวิทยาลัย




คณะและวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา




คณะครุศาสตร์

สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ 

สาขาวิชาการศึกษาภาษาไทย

สาขาวิชาการศึกษาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์

สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

สาขาวิชาสังคมศึกษาสาชาวิชาการศึกษาปฐมวัย


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม

สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม ภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก

สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

สาขาวิชาการปกครองท้องถีนสาขาวิชานิติศาสตร์

สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

สาขาวิชาภาษาจีนสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

สาขาวิชาภาษาไทยสาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจสาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์


คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม


สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร

สาขาวิชาการออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย

สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม

สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายในและการจัดการนิทรรศการ

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สาขาวิชาออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์


คณะวิทยาการจัดการ


สาขาวิชาการบัญชี 

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

สาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด 

สาขาวิชาการเงินการธนาคาร 

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 

สาขาวิชาการตลาด 

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ 

สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ 

สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร 

สาขาวิชาการแพร่ภาพและเสียงผ่านสื่อใหม่ 

สาขาวิชาการภาพยนต์และการสื่อสารการแสดง 

สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ 

สาขาวิชาภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม 

สาขาวิชาวารสารสนเทศ 

สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง 

สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

สาขาวิชาเคม

สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีววิทยา

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาสถิติประยุกต์

สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ


คณะศิลปกรรมศาสตร์


สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย 

สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 

สาขาวิชาจิตรกรรม 

สาขาวิชาดนตรี 

สาขาวิชาศิลปะการแสดงนาฎศิลป์ไทย 

สาขาวิชาศิลปะการแสดงศิลปะการละคร

 สาขาวิชาออกแบบหัตถศิลป์สร้างสรรค์


บัณฑิตวิทยาลัย


วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

สาขาวิชาแพทย์แผนไทยประยุกต์ 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ) 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม

 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ


วิทยาลัยนานาชาติ


สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว 

สาขาวิชาธุรกิจการบิน 

สาขาวิชาธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร 

สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

 สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ


วิทยาลัยการภาพยนต์ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่



วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต 

สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ 

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจพาณิชยณาวี 

สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ 

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์



สำนัก



กอง

กองบริหารงานบุคคล



ศูนย์

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ



หน่วยงานอื่น ๆ 

หน่วยตรวจสอบภายใน